Home » ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรอย่างถูกวิธีตามกฎหมาย

ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรอย่างถูกวิธีตามกฎหมาย

by info
237 views
เรียนรู้วิธีการทำงานกับเครื่องจักรด้วยความปลอดภัย

เรียนรู้วิธีการทำงานกับเครื่องจักรด้วยความปลอดภัย และถูกวิธีตามกฎหมาย

ในอุตสาหกรรมต่างๆเครื่องจักรนั้นถือเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้ผลิตชิ้นงานต่างๆ เพื่อส่งขายให้กับลูกค้าแต่ในอีกมุมนึงเครื่องจักรที่นำมาใช้งานนั้นสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้หากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานกับเครื่องจักรได้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันกฎหมายได้ออกประกาศแนวทางการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรเพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและเกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย

ความปลอดภัย หมายถึง การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

 

ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

 

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ

และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔

“เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง” หมายความว่า เครื่องจักรที่ออกแบบ เฉพาะใช้สำหรับยก เคลื่อนย้ายคนขึ้นไปทำงานบนที่สูงหรือที่ต่างระดับอย่างปลอดภัย เช่น รถกระเช้า กระเช้าแขวน หรือกระเช้าแบบกรรไกร

 

เครื่องจักรสำหรับยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง

 

ส่วนที่ ๖ เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง

ข้อ ๔๙ ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีการป้องกันการตกจากที่สูงตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ
  2. จัดให้มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักและจำนวนคนที่สามารถยกได้อย่างปลอดภัย
  3. ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ให้มีสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
  4. จัดให้มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยขณะทำงานตามความเหมาะสมของการใช้งาน
  5. จัดให้มีอุปกรณ์ตัดระบบการทำงานเมื่อมีการใช้งานเกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนด และต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้ตลอดเวลา

 

เครื่องจักรต่างๆ

 

ข้อ ๕๐ นายจ้างต้องไม่ดัดแปลงหรือกระทำการใดกับเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงที่มีผลทำให้ความปลอดภัยในการทำงานลดลง

ข้อ ๕๑ นายจ้างต้องควบคุมดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงที่ใช้ไฟฟ้าให้อยู่ห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการระบายอากาศเพื่อป้องกันการสะสมของไอกรด และไอระเหย ของไฮโดรเจนจากการประจุไฟฟ้า

ข้อ ๕๒ ในการทำงานบนเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงที่มีการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรไปตามแนวระนาบ นายจ้างต้องจัดให้พื้นที่ที่เป็นเส้นทางการเคลื่อนย้ายมีความแข็งแรง ราบเรียบ ไม่ต่างระดับ และปรับระดับของเครื่องจักรดังกล่าวให้อยู่ในตำแหน่งที่ผู้ผลิตกำหนดหรือในตำแหน่งที่ปลอดภัย

ข้อ ๕๓ นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมลูกจ้างเกี่ยวกับการปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

ข้อ ๕๔ ในการใช้งานเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงแบบแขวน นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีการทดสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องภายหลังการติดตั้ง และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
  2. ต้องใช้ลวดสลิงที่มีค่ำความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๑๐ และไม่เป็นลวดสลิงที่มีลักษณะ ตามข้อ ๘๖

เครื่องจักรของกฎหมายตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ที่ออกมาใหม่ได้ระบุให้นายจ้างต้องทำการตรวจสอบเครื่องจักรประจำปีให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยโดยวิศวกร เพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรที่อาจจะเกิดกับลูกจ้างหรือพนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นโรงงาน หรือ ผู้รับเหมาที่เข้าไปทำงานจะต้องเตรียมใบรับรองนี้เพื่อยื่นหน้างานให้กับทาง จป ดูว่าเครื่องจักรประเภทต่างๆที่ได้นำเข้ามาทำงานนั้นมีสภาพความพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

 

เครื่องตอกเสา

 

7 ชนิดเครื่องจักรที่ต้องตรวจรับรองประจำปี

  1. เครื่องจักรที่ใช้ในงานยกและขนย้าย เช่น รถยก ระบบสายพานลำเลียง
  2. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินและงานถนน ได้แก่ รถแทรกเตอร์ รถตัก เครื่องจักรกล สำหรับงานขุด รถบด รถขูดอุ้มดิน (scraper) รถเกรด (grader car) รถปูแอสฟัลท์ติคคอนกรีต (asphaltic concrete paver) รถพ่นย่าง (bitumen distributor หรือ parayer)
  3. เครื่องจักรที่ใช้ในงานคอนกรีต ได้แก่ เครื่องผสมคอนกรีต (concrere mixer) เครื่องสั่นคอนกรีต (concrere vibrator) เครื่องปั๊มคอนกรีต (concrere pumping) เครื่องยิงคอนกรีต (shotcrere machine) เครื่องพ่นปูนทราย (mortar sprayer) รถคอนกรีตผสมเสร็จ (transit – mixer truck)
  4. เครื่องจักรที่ใช้ในงานฐานราก ได้แก่ เครื่องตอกเสาเข็ม เครื่องจักรที่ใช้สำหรับงานเจาะเสาเข็มและกำพืด เครื่องอัดน้ำปูน (cement grouting machine) เครื่องทำเสาเข็มดินผสมซีเมนต์ (soil cement column machine)
  5. เครื่องจักรที่ใช้ในงานขุด งานเจาะ หรืองานขุดเจาะอุโมงค์ ได้แก่ เครื่องอัดลม (air compresor) เครื่องเจาะหิน (drilling rock machine) เครื่องเจาะอุโมงค์ (tunel boring machine) เครื่องดันท่อ (pipe jacking machine) แบ็กโฮ (backhoe) แดร็กไลน์ (dragline) รถตักหน้า – ขุดหลัง (front – end loader)
  6. เครื่องจักรที่ใช้ในงานรื้อถอนทำลาย ได้แก่ เครื่องสกัด (jack hammer) คอนกรีตเบรกเกอร์ (concrete breaker) เครื่องตัดทำลายโครงสร้าง (demolition shears)
  7. เครื่องจักรอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้งานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

** หมายเหตุ การตรวจสอบจะต้องเป็นเอกสารและรับรองโดยวิศวกร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับ

เว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ ที่คุณสามารถอ่านได้ในทุกวัน

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by gf-glutenfree