Home » การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานเริ่มต้นอย่างไร

การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานเริ่มต้นอย่างไร

by info
899 views
safety awareness

การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน เริ่มต้นอย่างไร

ชีวิตประจำวันของพวกเราทั้งหมดนั้น ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่เราจะต้องตระหนักอย่างมาก เพราะหากเราไม่มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตเลย ก็ถือได้ว่าเรามีชีวิตที่เสี่ยงเป็นอย่างมาก ซึ่งนั่นก็คงจะไม่เกิดขึ้นกับตัวเรา เพราะตั้งแต่ที่เราเกิดมานั้น เราก็ได้รับสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ดังนั้น มันจึงเป็นถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานของตัวเราอย่างยิ่ง แต่ถึงกระนั้น การที่เราจะได้รับความปลอดภัยนั้น เราก็จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งอันตราย และสิ่งใดเป็นสิ่งปลอดภัย เพื่อที่จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตไปได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

โดยเฉพาะในการทำงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสังคมที่เราจำเป็นที่จะต้องเข้าไป ซึ่งนอกจากความปลอดภัยอันเป็นสิทธิที่เราได้ตั้งแต่เกิดแล้ว ยังมีความปลอดภัยที่เกิดมาจากการปฏิบัติตนตามกฎภายในองค์กรอีกด้วย ซึ่งความปลอดภัยในลักษณะนี้จะเป็นความปลอดภัยที่เกิดมาจากการเรียนรู้ ซึ่งถ้าหากเราทำตามกฎที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างครบถ้วนแล้ว ก็รับรองได้เลยว่าความอันตรายจะไม่เกิดกับเรา และหนึ่งสิ่งที่จะช่วยทำให้เราได้รับความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ จิตสำนึกด้านความปลอดภัย นั่นเอง

จิตสำนึกด้านความปลอดภัยเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้และปลูกฝังในเรื่องความปลอดภัยมาตั้งแต่ต้นซึ่งจะช่วยทำให้เราสามารถปฏิบัติตนได้อย่างปลอดภัยในการทำงานได้นั่นเองซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นมาโดยเราสามารถสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานได้ดังนี้

 

ตรวจอุณหภูมิก่อนเข้างาน

 

1. การสร้างจิตสำนักเพื่อความปลอดภัยโดยประสาสัมผัสทั้ง 5 โดยเราสามารถฝึกใช้ประสามสัมผัสทั้ง 5 ในการสร้างจิตสำนึกนี้ได้ โดยจะออกมาในรูปแบบ ดังนี้

  • ตา โดยสามารถสอดส่องหาสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่ไม่ปลอดภัย
  • หู โดยจะใช้ในการฟังเสียงสิ่งผิดปกติของเครื่องจักรและกระบวนการผลิตได้
  • จมูก ใช้ดมกลิ่นที่ผิดปกติในบริเวณที่ทำงาน
  • ปาก โดยสามารถใช้ในการรับส่งข้อมูล รวมถึงแจ้งข่าวสารได้นั่นเอง
  • ผิวหนัง ใช้ในการรับความรู้สึกที่เริ่มผิดปกติในบริเวณนั้น

2 . การสร้างจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยให้คงถาวร

  • ควรคิดอยู่เสมอว่าอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ป้องกันได้
  • ควรคิดไว้ว่าความเสี่ยงไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น
  • ผู้ได้รับอุบัติเหตุจะสูญเสียมากที่สุด
  • การทำงานด้วยความเคยชิน ไม่สามารถบอกได้ว่าทำแบบเดิมแล้วจะไม่เกิดอุบัติเหตุ
  • ปฏิบัติตามกฎขององค์กรให้เป็นนิสัย
  • ความเร่งรีบสามารถทำให้เราลืมกฎความปลอดภัย
  • ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือในการป้องกันอุบัติเหตุ
  • มีการอบรม สัมมนา หรือดูงานความปลอดภัยสม่ำเสมอ
  • ต้องมีการป้องกันอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง

 

การตระหนักถึงสุขอนามัยของตนเองและเพื่อนร่วมงาน

 

นอกจากที่เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการส้รางจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราควรจะรู้ ก็คือวิธีการปฏิบัติเพื่อสร้างความปลอดภัยนั่นเอง ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

  1. สำรวจสถานที่ ว่ามีความสะอาดและเรียบร้อยดีหรือไม่
  2. แต่งกายได้เหมาะสมและรัดกุมเพื่อพร้อมที่จะทำงาน
  3. ควรติดตั้งเครื่องมือให้พร้อมใช้งาน
  4. ควรเตรียมเครื่องป้องกันที่ต้องใช้
  5. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนของการทำงานที่ปลอดภัย และปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท
  6. เลือกใช้เครื่องมือถูกลักษณะและถูกกับงาน
  7. ภายหลังจากทำงานเสร็จแล้ว ควรเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้เรียบร้อย
  8. หากมีสถานที่ใดที่มีความอันตราย สิ่งที่ควรทำก็คือแปะข้อความเตือนเอาไว้อย่างชัดเจน
  9. ทำความสะอาดและเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเลิกงานแต่ละวัน รวมไปถึงการทำ 5ส

นอกจากนี้ ในการที่เราจะป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่และรับผิดชอบร่วมกัน โดยเราจะสามารถแบ่งกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ คือผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน (หัวหน้างาน) และพนักงานทั่วไป โดยพวกเขาเหล่านี้จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไปในการรับผิดชอบ ดังนี้

  1. ผู้บริหาร โดยควรให้มีการจัดการอบรมวิธีการแห่งการปลอดภัยแก่คนงาน
  2. ผู้ควบคุมงาน โดยสามารถสอนวิธีการทำงานแก่คนงานและควบคุมให้ทำงานอย่างปลอดภัย
  3. พนักงาน ซึ่งจะต้องเคารพและเชื่อฟังกฏเกณฑ์และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

โดยในปัจจุบันนี้ได้มีการจัดอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างมากและหนึ่งในวิธีที่มีการใช้อย่างมากนั่นก็คือ KYT

 

อุปกรณ์ppe

 

KYT เป็นวิธีการของญี่ปุ่น ที่จะเอาไว้ฝึกฝนกับพนักงาน เพื่อที่จะทำให้พวกเขาเหล่านี้สามารถมีความสามารถในการมองอันตรายล่วงหน้าได้ โดยจะต้องฝึกฝนอยู่ทุกวัน เพื่อเป็นการเตือนสติก่อนการปฏิบัติงาน และยังเพื่อขจัด “ความผิดพลาดที่เกิดจากคน (Human Error)” โดย KYT นั้น ย่อมาจาก

K คือ KIKEN (คิเค็น) แปลว่า อันตราย

Y คือ YOSHI (โยจิ) แปลว่า คาดการณ์

T คือ TRAINING (เทรนนิ่ง) แปลว่า การฝึกฝน หรือ ฝึกอบรม

โดยเมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึง“การฝึกอบรมการคาดการณ์อันตรายล่วงหน้า”

ซึ่ง KYT นั้น จะมีวิธีการฝึกฝน ดังนี้

1. การฝึกจากรูปภาพหรือเหตุการณ์สมมติซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือพนักงานทุกคน โดยจะให้รวมกลุ่มกัน และพิจารณาสถานที่หนึ่งจากรูปภาพที่ได้ โดยให้มองหาจุดที่เป็นอันตรายในรูป และส่งเสียงออกมา

2. การฝึกฝนในสถานที่จริง ซึ่งจะเป็นวิธีการที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามที่กำหนดไว้ในแผนงาน ซึ่งจะเป็นการฝึกฝนเพื่อให้แน่ใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสภาพที่พร้อมและปลอดภัย โดยการชี้นิ้วไปที่วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือสถานที่ทำงานใด ๆ พร้อมกับกล่าวว่า “ทุกอย่างพร้อม ปลอดภัย โอเค” นั่นเอง

ดังนั้น การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการทำงานในองค์กร ๆ หนึ่ง โดยมันจะช่วยทำให้เราสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง รวมถึงยังทำให้เราสามารถมองเห็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์กรได้ และนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาในที่สุด นั่นจึงถือได้ว่า มันเป็นสิ่งที่ดีอย่างมากต่อการบริหารองค์กรนั่นเอง

เกี่ยวกับ

เว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ ที่คุณสามารถอ่านได้ในทุกวัน

เรื่องแนะนำ

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by gf-glutenfree