gf-glutenfree.com
@2023 - All Right Reserved. Designed and Developed by gf-glutenfree
Author

info

info

Uncategorized

ข้อสำคัญของการเลือกตั้ง คปอ. คืออะไร

by info ตุลาคม 5, 2022
written by info

ข้อสำคัญของสถานประกอบการที่ต้องมีการเลือกตั้ง คปอ. คืออะไร

กฎกกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 หมวด 2

Continue Reading
ตุลาคม 5, 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

จป.ควรตรวจสอบรถเครน ผู้รับเหมาก่อนเริ่มงานอย่างไรบ้าง

by info ตุลาคม 3, 2022
written by info

ก่อนเริ่มงานกับเครน จป.ควรตรวจสอบรถเครน และผู้รับเหมาก่อนเริ่มงานอย่างไร

รถเครนเป็นเครื่องทุ่นแรงชนิดหนึ่งที่มักใช้ในงานก่อสร้างหรืองานที่ต้องยกสิ่งของที่มีขนาดใหญ่มีน้ำหนักมาก

Continue Reading
ตุลาคม 3, 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
จป

จป คือบุคคลที่คอยช่วยกำกับดูแลในด้านความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร

by info ธันวาคม 2, 2021
written by info

จป มีหน้าที่ช่วยดูแลความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ของแต่ละองค์กร

  • จป คือบุคคลที่คอยช่วยกำกับดูแลในด้านความปลอดภัยในการทำงานขององค์กรให้เกิดความปลอดภัยและไม่มีอุบัติเหตุซึ่งบุคคลนี้นับว่ามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้ทุกพื้นที่ขององค์กรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจะต้องส่งลูกจ้างไป อบรม จป เพื่อขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานซึ่ง จป นั้นมีหลายระดับ
  • จป. วิชาชีพ ก็คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ (Safety Officer) ซึ่งมีหน้าที่ในการคอยดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้ปฏิบัติไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นตำแหน่งที่กฎหมายได้กำหนดบังคับให้นายจ้างต้องมี ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ, การไฟฟ้า, การประปา, โรงแรม, โรงพยาบาล, งานเหมืองแร่และถ่านหิน, ห้างสรรพสินค้า, สถาบันการเงิน
  • จป. วิชาชีพ เค้ามีความจำเป็นในแต่ละองค์กรมากแค่ไหน? จากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ซึ่ง ระบุถึง กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีการกำหนดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานไว้ 5 ระดับ

 

 

ระดับของ จป.อาชีพ

  1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
  2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
  4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
  5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ

 

 

กำหนดสถานประกอบกิจการที่เข้าข่ายบังคับต้องมี จป.

  1. การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
  2. การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
  3. การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
  4. การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
  5. สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
  6. โรงแรม
  7. ห้างสรรพสินค้า
  8. สถานพยาบาล
  9. สถาบันทางการเงิน
  10. สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
  11. สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
  12. สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
  13. สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม ข้อ 1) ถึง 12)
  14. กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

 

 

หน้าที่การทำงานของ จป.วิชาชีพ หลักๆนั้นมีดังนี้

  • ตรวจสอบ และเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน หรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
  • ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน
  • วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
  • ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
  • แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3
  • แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความ ไม่ปลอดภัยในการทำงาน
  • ตรวจวัด และประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ
  • เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
  • ตรวจสอบสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  • รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
  • ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

สำหรับใครที่สนใจงานด้าน จป. วิชาชีพ จำเป็นที่จะต้องมีสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า โดยสามารถตรวจสอบสถาบันทางการศึกษาที่เปิดสอนได้จาก jorporthai.com

ธันวาคม 2, 2021 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ซ้อมอพยพหนีไฟ

ความสำคัญของการซ้อมอพยพหนีไฟให้กับพนักงานประจำปี

by info ธันวาคม 1, 2021
written by info

การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี ให้กับพนักงาน สำคัญอย่างไร

เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเวลาไหนที่ในโรงงานของเรานั้นจะเกิดเพลิงไหม้ เพื่อให้เกิดความพร้อมเพียงกันเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไฟไหม้ นายจ้างควรจัดให้ลูกจ้างทำการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปีตามกฎหมาย

ขั้นตอนฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ จะต้องมีการประชุมเตรียมความพร้อม เพื่อวางแผนการ ดําเนินงาน และจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ เพื่อจัดแบ่งทีมงานผู้รับผิดชอบตามหน้าที่ ให้เหมาะสม เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอน

แผนอพยพหนีไฟนั้น กำหนดข้ึนเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานและสถานประกอบกิจการในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ แผนอพยพหนีไฟที่กำหนดขึ้นนั้น มีองค์ประกอบต่างๆ เช่น หน่วยตรวจสอบจำนวนพนักงาน, ผู้นำทางหนีไฟ, จุดนัดพบ, หน่วยช่วยชีวิต และยานพาหนะ ฯลฯ ควรได้กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละหน่วยงาน โดย ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการอพยพหนีไฟหรือผู้อำนวยการดับเพลิง

เมื่อไฟไหม้เป็นเหตุให้พนักงานต้องเสียชีวิต เนื่องมาจากการไม่รู้วิธีหรือขั้นตอนการอพยพหนีไฟนั้น จึงเป็นที่มาของบทความนี้ การซ้อมหนีไฟหรือซ้อมอพยพเวลาเกิดเพลิงไหม้ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่พนักงานภายในบริษัทต้องทราบไว้ทุกคน เพราะไม่มีใครคาดคิดได้ว่า การเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้จะเกิดในวันไหน แต่การรู้ไว้จะช่วยชีวิตพนักงานเหล่านั้น เมื่อเหตุการณ์นั้นมาถึง โดยส่วนใหญ่ของบริษัทจะซ้อมหนีไฟปีละ 2 ครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง และไม่ใช่แค่การซ้อมหนีไฟเท่านั้น บางบริษัทยังมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเพลิงไหม้ การใช้ถังดับเพลิงที่ถูกวิธี และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

 

วัตถุประสงค์ของการซ้อมหนีไฟ

  1. เพื่อให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้
  2. เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้สัญญาณเตือนภัย ที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
  3. เพื่อให้พนักงานมีชีวิตรอดจากเหตุการณ์เพลิงไหม้
  4. เพื่อเป็นการลดการสูญเสียชีวิตจากเหตุการณ์เพลิงไหม้

 

 

ข้อแนะนำในการซ้อมหนีไฟ

  1. รู้จัดจุดรวมพล
  2. แนะนำป้ายเซฟตี้ ป้ายเส้นทางหนีไฟ ให้กับพนักงานรับรู้
  3. แนะนำให้พนักงานได้รู้ถึงบันไดหนีไฟ ช่องทางหนีไฟ
  4. แนะนำข้อปฏิบัติในการหนีไฟตามช่องทางหนีไฟต่าง ๆ
  5. แนะนำการใช้งานถังดับเพลิง
  6. ซ้อมขั้นตอนการหนีไฟ

 

ขั้นตอนการหนีไฟ

  1. จำลองสถานการณ์ไฟไหม้ เปิดเสียงกริ่งเตือนภัย
  2. อพยพพนักงานทุกคนมายังจุดรวมพล ยังช่องทางต่าง ๆ
  3. สำรวจเพื่อนพนักงาน และปฐมพยาบาล
  4. สุดท้ายแล้วสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือการอย่าวางสิ่งของขวางเส้นทางหนีไฟหรือบันไดหนีไฟ และต้องหมั่นตรวจเช็คเส้นทางหนีไฟเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเส้นทางนั้นใช้งานได้
ธันวาคม 1, 2021 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ทั่วไป

การสร้างชื่อเท่ๆด้วยอักษรพิเศษมากกว่า 300 รายการ

by info พฤศจิกายน 17, 2021
written by info

วิธีการใช้ อักษรพิเศษมากกว่า 300 รายการ สำหรับสร้างชื่อแบบเท่ๆ กัน

ปัจจุบันการสร้างชื่อเท่ๆบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นที่นิยมเพราะทำให้ตัวเราเองดูมีเอกลักษณ์ขึ้นมาอีกทั้งยังเป็นที่สะดุดตาของใครหลายๆคนไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อบน facebook หรือ ชื่อในไลน์ วันนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีที่จะทำให้ชื่อของคุณนั้นดูมีสไตล์แปลกใหม่กว่าคนอื่นๆด้วยการตั้งชื่อด้วยอักษรพิเศษที่มีมาให้เลือกมากกว่า 300 ตัวอักษรพิเศษจะมีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย

 

 

  • ก -> ∩ ∏ Ω Ռ ח ν υ
  • ข -> श থ ရျ ရ∫ ဈ ឧ ४ খ
  • ค-> の ମ
  • ง -> ງ פ ஜ এ ق ঐ ও ঞ ଏ ၅ ງ ل ق ს ७ و
  • จ -> ຈ す ब ন ল ম অ ज त्र ຈ જિ ને નૈ न ㅋ व ऩ
  • ช -> જ Ճ ಶ ឋ
  • ญ = ₪ വ ഖ ல ស ល ભુ
  • ฒ -> ឍ
  • ณ -> ભ
  • ด -> ດ ๑ இ ஏ ஞ ௭ ெ
  • ต -> ๓ ຕ რ დ ព တ ო ຕ ថា ផា ឲា ឆា ന თ ள ღ ถ = ຖ ଣ ຄ ଋ ઢી
  • ท -> η и מ ŋ ທ ឋា មា ហ
  • ธ -> ຣ ຽ চ ន
  • น -> Ա Њ थ ゆ њ થ य ਪ યૃ Ю ю
  • บ -> υ ບ ப
  • ป -> ປ √ ച
  • ผ -> ຜ ಛ ಟ ය చ ట
  • ฝ -> ධ ඨ ຝ យ
  • พ -> ш ಬ ധ ਘ ພ ဃ ឃ
  • ฟ -> ຟ ௰ ಚ ಭ ඩ
  • ภ -> ग ກ சி រា
  • ม -> ນ ஆ ௮ ঋ भ ಖ ఖ ມ ଐ தூ து អ
  • ย -> ε є ξ ઈ ຢ ع ধ ㄠ ঘ ध छ ຍ ઘ છ اغ اع չ غ
  • ร -> ຮ よ ی र န ਙ 丂 ઙ હ ន រ វ
  • ล -> ລ त ਫ਼ බ તિ તે તૈ લિ લે લૈ ढ द ट
  • ว -> ວ ຊ ಞ Ձ
  • ษ = ម ਖ
  • ส -> さ ざ द ನ న ສ ឥ ৯ స ढे ざ
  • ห -> ㄨ × Ҩ ण യ භ ຫ ຫຼ ӄ ம Ҩ ೫ メ ຫ א
  • ฬ -> ង ឯ
  • อ -> Ә ∂ Ο о ਹ ට વિ ө Ө ბ ס ծ
  • ฮ -> ර ອ
  • สระ โอ -> ໂ ∫ ဌ ၎
  • สระ ไอ -> ໄ ໃ ဥ ရ
  • สระ เอ -> も L ζ l ℓ ١١ ແ ເ ا اا រ វ ъ
  • สระ อิ -> ິ
  • สระ อะ -> ະ း
  • สระ อา -> ণ ד প গ າ ๅ

 

ą č Ĥ ħ ĩ Ň Ř Ť Ŵ Ž ⒜ ⒝ ⒞ ⒟ ⒠ ⒡ ⒢ ⒣ ⒤ ⒥ ⒦ ⒧ ⒨ ⒩ ⒪ ⒫ ⒬ ⒭ ⒮ ⒯ ⒰ ⒱ ⒲ ⒳ ⒴ ⒵

Ⓐ Ⓑ Ⓒ Ⓓ Ⓔ Ⓕ Ⓖ Ⓗ Ⓘ Ⓙ Ⓚ Ⓛ Ⓜ Ⓝ Ⓞ Ⓟ Ⓠ Ⓡ Ⓢ Ⓣ Ⓤ Ⓥ Ⓦ Ⓧ Ⓨ Ⓩ ⓐ ⓑ ⓒ ⓓ ⓔ ⓕ ⓖ ⓗ ⓘ ⓙ ⓚ ⓛ ⓜ ⓝ ⓞ ⓟ ⓠ ⓡ ⓢ ⓣ ⓤ ⓥ ⓦ ⓧ ⓨ ⓩ

á â æ à å ã ä ç é ê è ð ë í î ì ï ñ ó ô ò ø õ ö ß þ ú û ù ü ý ÿ

ᴀ ʙ ᴄ ᴅ ᴇ ғ ɢ ʜ ɪ ᴊ ᴋ ʟ ᴍ ɴ ᴏ ᴏ ᴘ ǫ ʀ s ᴛ ᴜ ᴠ ᴡ x ʏ ᴢ ℂ ℍ ℕ ℙ ℚ ℝ ℤ ℭ ℌ ℑ ℜ ℨ

z ʎ x ʍ ʌ n ʇ s ɹ b d o u ɯ l ʞ ɾ ᴉ ɥ ƃ ɟ ǝ p ɔ q ɐ

 

A̅̅ ̅̅B̅̅ ̅̅C̅̅ ̅̅D̅̅ ̅̅E̅̅ ̅̅F̅̅ ̅̅G̅̅ ̅̅H̅̅ ̅̅I̅̅ ̅̅J̅̅ ̅̅K̅̅ ̅̅L̅̅ ̅̅M̅̅ ̅̅N̅̅ ̅̅O̅̅ ̅̅P̅̅ ̅̅Q̅̅ ̅̅R̅̅ ̅̅S̅̅ ̅̅T̅̅ ̅̅U̅̅ ̅̅V̅̅ ̅̅W̅̅ ̅̅X̅̅ ̅̅Y̅̅ ̅̅Z̅ a̅̅ ̅̅ ̅̅b̅̅ ̅̅ ̅̅c̅̅ ̅̅ ̅̅d̅̅ ̅̅ ̅̅e̅̅ ̅̅ ̅̅f̅̅ ̅̅ ̅̅g̅̅ ̅̅ ̅̅h̅̅ ̅̅ ̅̅i̅̅ ̅̅ ̅̅j̅̅ ̅̅ ̅̅k̅̅ ̅̅ ̅̅l̅̅ ̅̅ ̅̅m̅̅ ̅̅ ̅̅n̅̅ ̅̅ ̅̅o̅̅ ̅̅ ̅̅p̅̅ ̅̅ ̅̅q̅̅ ̅̅ ̅̅r̅̅ ̅̅ ̅̅s̅̅ ̅̅ ̅̅t̅̅ ̅̅ ̅̅u̅̅ ̅̅ ̅̅v̅̅ ̅̅ ̅̅w̅̅ ̅̅ ̅̅x̅̅ ̅̅ ̅̅y̅̅ ̅̅ ̅̅z̅̅

A̲̲ ̲̲B̲̲ ̲̲C̲̲ ̲̲D̲̲ ̲̲E̲̲ ̲̲F̲̲ ̲̲G̲̲ ̲̲H̲̲ ̲̲I̲̲ ̲̲J̲̲ ̲̲K̲̲ ̲̲L̲̲ ̲̲M̲̲ ̲̲N̲̲ ̲̲O̲̲ ̲̲P̲̲ ̲̲Q̲̲ ̲̲R̲̲ ̲̲S̲̲ ̲̲T̲̲ ̲̲U̲̲ ̲̲V̲̲ ̲̲W̲̲ ̲̲X̲̲ ̲̲Y̲̲ ̲̲Z̲ a̲̲ ̲̲ ̲̲b̲̲ ̲̲ ̲̲c̲̲ ̲̲ ̲̲d̲̲ ̲̲ ̲̲e̲̲ ̲̲ ̲̲f̲̲ ̲̲ ̲̲g̲̲ ̲̲ ̲̲h̲̲ ̲̲ ̲̲i̲̲ ̲̲ ̲̲j̲̲ ̲̲ ̲̲k̲̲ ̲̲ ̲̲l̲̲ ̲̲ ̲̲m̲̲ ̲̲ ̲̲n̲̲ ̲̲ ̲̲o̲̲ ̲̲ ̲̲p̲̲ ̲̲ ̲̲q̲̲ ̲̲ ̲̲r̲̲ ̲̲ ̲̲s̲̲ ̲̲ ̲̲t̲̲ ̲̲ ̲̲u̲̲ ̲̲ ̲̲v̲̲ ̲̲ ̲̲w̲̲ ̲̲ ̲̲x̲̲ ̲̲ ̲̲y̲̲ ̲̲ ̲̲z̲̲

A۫۰۪B۫۰۪C۫۰۪D۫۰۪E۫۰۪F۫۰۪G۫۰۪H۫۰۪I۫۰۪J۫۰۪K۫۰۪L۫۰۪M۫۰۪N۫۰۪O۫۰۪P۫۰۪Q۫۰۪R۫۰۪S۫۰۪T۫۰۪U۫۰۪V۫۰۪W۫۰۪X۫۰۪Y۫۰۪Z۫۰ a۫۰۪b۫۰۪c۫۰۪d۫۰۪e۫۰۪f۫۰۪g۫۰۪h۫۰۪i۫۰۪j۫۰۪k۫۰۪l۫۰۪m۫۰۪n۫۰۪o۫۰۪p۫۰۪q۫۰۪r۫۰۪s۫۰۪t۫۰۪u۫۰۪v۫۰۪w۫۰۪x۫۰۪y۫۰۪z۫۰

α в c ∂ є ƒ g н ι נ к ℓ м η σ ρ q я ѕ т υ ν ω χ у

z γ x ω v υ т ƨ я p q o и м l ʞ į ı н ϱ ʇ ɘ α ɔ ʚ ɒ

Ā 乃 Ċ Ɖ Ē ₣ Ǥ Ħ Ī J ₭ Ŀ M ₦ Ō P Ǭ Ṝ Ƨ Ŧ Ū ∀ Ж Ȳ Ƶ

z ʎ x ʍ ʌ n ʇ s ɹ b d o u ɯ ן ʞ ſ ı 4 ƃ ɟ ǝ p ɔ q ɐ || ɐ q ɔ p ǝ ɟ b ɥ ı ƪ ʞ 1 ɯ u o d b ɹ s ʇ n ʌ ʍ x ʎ z

α Ⴆ ƈ ԃ ҽ ϝ ɠ ԋ ι ʝ ƙ ʅ ɱ ɳ σ ρ ϙ ɾ ʂ ƚ υ ʋ ɯ x ყ ȥ ૦ α ß ς d ε ƒ g h ï յ κ レ m η ⊕ p Ω r š † u ∀ ω x ψ z

ム 乃 ζ Ð 乇 キ Ǥ ん ノ フ ズ レ ᄊ 刀 Ծ ア Q 尺 丂 イ Ц Џ Щ メ リ 乙 ᅙ

მ ჩ ƈ ძ ε բ ց հ ἶ ʝ ƙ l ო ղ օ ր գ ɾ ʂ է մ ν ω ჯ ყ z

ä b ċ d ë f ġ h ï j k l m n ö p q r s t ü v w x ÿ ż

Λ Ϧ ㄈ Ð Ɛ F Ɠ н ɪ フ Қ Ł ௱ Л Ø þ Ҩ 尺 ら Ť Ц Ɣ Ɯ χ Ϥ Ẕ

Λ ß Ƈ D Ɛ F Ɠ Ĥ Ī Ĵ Ҡ Ŀ M И ♡ Ṗ Ҩ Ŕ S Ƭ Ʊ Ѵ Ѡ Ӿ Y Z

ǟ ɮ ƈ ɖ ɛ ʄ ɢ ɦ ɨ ʝ ӄ ʟ ʍ ռ օ ք զ ʀ ֆ ȶ ʊ ʋ ա Ӽ ʏ ʐ

ム 乃 ζ Ð 乇 キ Ǥ ん ノ フ ズ レ ᄊ 刀 Ծ ア Q 尺 丂 イ Ц Џ Щ メ リ 乙

Թ Յ Շ Ժ ȝ Բ Գ ɧ ɿ ʝ ƙ ʅ ʍ Ռ Ծ ρ φ Ր Տ Ե Մ ע ա Ճ Վ Հ

Δ Ɓ C D Σ F G H I J Ƙ L Μ ∏ Θ Ƥ Ⴓ Γ Ѕ Ƭ Ʊ Ʋ Ш Ж Ψ Z

 

 

ც ८ ძ ૯ Բ ૭ Һ ɿ ʆ қ Ն ɱ Ո ૦ ƿ ҩ Ր ς ੮ υ ౮ ω ૪ ע ઽ

α в c ɔ ε ғ ɢ н ı נ κ ʟ м п σ ρ ǫ я ƨ т υ ν ш х ч z 0

ă ƅ č ɗ ĕ f ğ ɦ ĭ ĵ ƙ l ɱ ň ŏ ρ ỡ ř š t ŭ ν ŵ ҳ ў ž ɒ ʚ ɔ α ɘ ʇ ϱ н ı į ʞ l м и o q p я ƨ т υ v ω x γ z

ɑ в ς ∂ƒ є ƒ ɢ ɦ ɨ ʆ ќ ℓ ʍ и ღ ρ ҩ ʀ s т µ ν ω х γ ẕς

ⓐ ß ʗ ðƒ ⓔ ƒ ɠ н ì ʖ Ҝ ℓ м и Ѻ ρ Ҩ я Ƨ † µ Ɣ Ŵ Ӿ ¥ ẕ

ᴬ ᴮ ᶜ ᴰ ᴱ ᶠ ᴳ ᴴ ᴵ ᴶ ᴷ ᴸ ᴹ ᴺ ᴼ ᴾ ᵠ ᴿ ˁ ᵀ ᵁ ᵛ ᵂ ˣ ʸ ᶻ || ᵃ ᵇ ᶜ ᵈ ᵉ ᶠ ᵍ ʰ ᶤ ʲ ᵏ ˡ ᵐ ᶰ ᵒ ᵖ ᵠ ʳ ˢ ᵗ ᵘ ᵛ ʷ ˣ ʸ ᶻ

𝕒 𝕓 𝕔 𝕕 𝕖 𝕗 𝕘 𝕙 𝕚 𝕛 𝕜 𝕝 𝕞 𝕟 𝕠 𝕡 𝕢 𝕣 𝕤 𝕥 𝕦 𝕧 𝕨 𝕩 𝕪 𝕫 || 𝔸 𝔹 ℂ 𝔻 𝔼 𝔽 𝔾 ℍ 𝕀 𝕁 𝕂 𝕃 𝕄 ℕ 𝕆 ℙ ℚ ℝ 𝕊 𝕋 𝕌 𝕍 𝕎 𝕏 𝕐 ℤ


0īƻǮ4567Ȣ9 || [̲̅0̲̅][̲̅1̲̅][̲̅2̲̅][̲̅3̲̅][̲̅4̲̅][̲̅5̲̅][̲̅6̲̅][̲̅7̲̅][̲̅8̲̅][̲̅9̲̅]

① ② ③ ④ ⑤ ⑥ ⑦ ⑧ ⑨ ⑩ ⑪ ⑫ ⑬ ⑭ ⑮ ⑯ ⑰ ⑱ ⑲ ⑳ || ❶ ❷ ❸ ❹ ❺ ❻ ❼ ❽ ❾ ❿

¼ ½ ¾ θ Ι 2 Э Ч Ƽ б ל ȣ ף θ

₀ ₁ ₂ ₃ ₄ ₅ ₆ ₇ ₈ ₉ ₀ || ⁰ ¹ ² ³ ⁴ ⁵ ⁶ ⁷ ⁸ ⁹

ⅰ ⅱ ⅲ ⅳ ⅴ ⅵ ⅶ ⅷ ⅸ ⅹ ⅠⅡ Ⅲ Ⅳ Ⅴ Ⅵ Ⅶ Ⅷ Ⅷ Ⅸ Ⅹ Ⅺ Ⅻ

0̅̅ ̅̅ ̅̅1̅̅ ̅̅ ̅̅2̅̅ ̅̅ ̅̅3̅̅ ̅̅ ̅̅4̅̅ ̅̅ ̅̅5̅̅ ̅̅ ̅̅6̅̅ ̅̅ ̅̅7̅̅ ̅̅ ̅̅8̅̅ ̅̅ ̅̅9̅̅ ̅̅ ̅̅0̅ || 0̲̲ ̲̲ ̲̲1̲̲ ̲̲ ̲̲2̲̲ ̲̲ ̲̲3̲̲ ̲̲ ̲̲4̲̲ ̲̲ ̲̲5̲̲ ̲̲ ̲̲6̲̲ ̲̲ ̲̲7̲̲ ̲̲ ̲̲8̲̲ ̲̲ ̲̲9̲̲ ̲̲ ̲̲0̲

1۫۰ ۪2۫۰ ۪3۫۰ ۪4۫۰ ۪5۫۰ ۪6۫۰ ۪7۫۰ ۪8۫۰ ۪9۫۰ ۪0۫۰ || ˒՚1ՙ˓ ˒՚2ՙ˓ ˒՚3ՙ˓ ˒՚4ՙ˓ ˒՚5ՙ˓ ˒՚6ՙ˓ ˒՚7ՙ˓ ˒՚8ՙ˓ ˒՚9ՙ˓ ˒՚0ՙ˓

҉ 1 ҉ 2 ҉ 3 ҉ 4 ҉ 5 ҉ 6 ҉ 7 ҉ 8 ҉ 9 ҉ 0 || [̲̅0̲̅] [̲̅1̲̅] [̲̅2̲̅] [̲̅3̲̅] [̲̅4̲̅] [̲̅5̲̅] [̲̅6̲̅] [̲̅7̲̅] [̲̅8̲̅] [̲̅9̲̅] [̲̅0̲̅]

⅟ ½ ⅓ ⅕ ⅙ ⅛ ⅔ ⅖ ⅚ ⅜ ¾ ⅗ ⅝ ⅞ ⅘

01ԶՅՎ56ԴՑԳ || ૦١Ձ૩મƼ67Ց୨ || ⓵ ⓶ ⓷ ⓸ ⓹ ⓺ ⓻ ⓼ ⓽ ⓾ || ° ℃ ℉ ㎎ ㎏ ㎜ ㎝ ㎞ ㎡ ㏄ ㏎ ㏑ ㏒ ㏕

㈠ ㈡ ㈢ ㈣ ㈤ ㈥ ㈦ ㈧ ㈨ ㈩

㊀ ㊁ ㊂ ㊃ ㊄ ㊅ ㊆ ㊇ ㊈ ㊉


꧁—-꧂ || ꧁⊱ ⊰꧂ || ꧁༒ —- ༒꧂ || ꧁෴ਬੇ — ਓ෴꧂ || ꧁༻༒༺꧂ || ꧁{★… ★}꧂


☂❤☀✖~【】~✖⊕ ¤ o O ♋ ㊝ ► ◄ ✿ ﻬ ஐ ✲ ღ ☃ ■ ↘╬☃ ❣·•● ➸ ❝❞ ✎ ✟ ➹ ❀ ☂ ♨☎ ☏ ★ △ ▲ ♧ ♟✖♂ ♀ ♥☜ ☞ ☎ ☏ ⊙ ◎ ☺ ☻ ► ◄ ▧ ▨ ♨ ◐(‧””‧)◐ {@_@} ๑•

✪✣✤✥✦✧✩✫✬✭✮✯✰✱✲✳❃❂❁❀✿✾✽✼✻✺✹✸✷☣☢☠☭♈➸╬∴☀☆∷﹌

☀☁☂☃☄❉❊❋❖❤❥❦❧☇☈☉☊☋☌☍☑☒☢ ☸ ☹ ☺ ☻ ☼ ☽ ☾♠♡♢♣♤♥♦♧ ♨ ♩ ✙ ✈ ✉ ✌ ✁ ✎ ✐ ❀ ✰ ❁ ❤ ❥ ❦❧ ➳ ➽ 〠 〄 ㍿ ♝ ♞ ➳➴➵㊚㊛㊙℗♯♩♪♫♬♭♮ ☎☏☪♈♨ ºº₪¤큐 « » ™♂✿♥㊣♀♀♂© ® ⁂

℡ↂ░ ▣ ▤ ▥ ▦ ▧ ▨ ▩☯♋♛♞♕✈✎✏┇┅✐✌✍✡✓✔✕✖ ♂ ♀ ♥ ♡ ☜ ☞ ☎ ☏ ⊙ ◎ ☺ ☻ ► ◄ ◐ ◑ ↔ ↕☼ ♦♦ ◊ ◘ ◙✗✘✚

♪♫╭♥ ๑•ิ.•ัﻬஐ ✎

❄ ❅ ❆ ❇ ❈ ❉ ❊ ❋ ❖ ☁ ₪ ¡ Þ ✱ ௫ Ω ж фю Ю ◇ ◆ ☂ ╰☆╮☃ ☄ ★ ☆ ☇ ☈ ☉ ☊ ☋ ☌ ☍ ☑ ☒☢

☸ ☹ ☺ ☻ ☼ ☽ ☾ ✙ || ╬ ╠ ╣』◆◣◥▲Ψ ※◤ ◥ →№←㊣∑⌒〖〗@ξζω□∮〓※∴ぷ▂▃▅▆█ ☞

.︻︼─一 ▄︻┻┳═一 ⌐╦╦═─ o==[]::::::::::::::::> ▄︻̷̿┻̿═━一

【】〖〗|| ✁ ✂ ✃ ✄


»-(¯`v´¯)-» ×÷•.•´¯`•)» «(•´¯`•.•÷× || —¤÷(`[¤* *¤]´)÷¤— || «•´`•.(`•.¸ ¸.•´).•´`•» || ••.•´¯`•.•• ••.•´¯`•.•• || ׺°”˜`”°º× ׺°”˜`”°º×

۩ ۞ ۩ ۩ ۞ || ♪ ♫ ♩ ♬ ♭ ♮ ♯ ° ø || ✐ ✎ ✏ ✑ ✒ || † ☨ ✞ ✝ ☥ ☦ ☓ ☩ ☯ ☧ ☬ ☸ ✡ ♁ ✙ ♆

☭ ✯ ☪ ☫ ✡ ☮ 卐 || ♚ ♛ ♜ ♝ ♞ ♟♚ ♛ ♜ ♝ ♞ ♟ || ♤ ♧ ♡ ♢ ♠ ♣ ♥ ♦

▲ ▼ ◄ ► ▶ ◀ ◣ ◢ ◥ ◤ ◥ ▸ ◂ ▴ ▾ △ ▽ ▷ ◁ ⊿ ▻ ◅ ▵ ▿ ▹ ◃ || ≒ ≓ ≔ ≕ ≖ ≗ ≘ ≙ ≚ ≛ ≜

‷ ‴ ‶ ″ || ◉ ○ ◌ ◍ ◎ ● ◐ ◑ ◒ ◓ ◔ ◕ ◖ ◗

┌ ┍ ┎ ┏ ┐ ┑ ┒ ┓ └ ┕ ┖ ┗ ┘ ┙ ┚ ┛ ├ ┝ ┞ ┟ ┠ ┡ ┢ ┣ ┤ ┥ ┦ ┧ ┨ ┩ ┪ ┫ ┬ ┭ ┮ ┯ ┰ ┱ ┲ ┳ ┴ ┵ ┶ ┷ ┸ ┹ ┺ ┻ ┼ ┽ ┾ ┿ ╀ ╁ ╂ ╃ ╄ ╅ ╆ ╇ ╈ ╉ ╊ ╋ ╌ ╍ ╎ ╏ ═ ║ ╒ ╓ ╔ ╕ ╖ ╗ ╘ ╙ ╚ ╛ ╜ ╝ ╞ ╟ ╠ ╡ ╢ ╣ ╤ ╥ ╦ ╧ ╨ ╩ ╪ ╫ ╬

➟ ➡ ➢ ➣ ➤ ➥ ➦ ➧ ➨ ➚ ➘ ➙ ➛ ➜ ➝ ➞ ➸ ♐ ➲ ➳ ➳ ➴ ➵ ➶ ➷ ➸ ➹ ➺ ➻ ➼ ➽ ← ↑ → ↓ ↔ ↕ ↖ ↗ ↘ ↙ ↚ ↛ ↜ ↝ ↞ ↟ ↠ ↡ ↢ ↣ ↤ ↥ ↦ ↧ ↨ ➫ ➬ ➩ ➪ ➭ ➮ ➯ ➱ ↩ ↪ ↫ ↬ ↭ ↮ ↯ ↰ ↱ ↲ ↳ ↴ ↵ ↶ ↷ ↸ ↹ ↺ ↻ ↼ ↽ ↾ ↿ ⇀ ⇁ ⇂ ⇃ ⇄ ⇅ ⇆ ⇇ ⇈ ⇉ ⇊ ⇋ ⇌ ⇍ ⇎ ⇏ ⇐ ⇑ ⇒ ⇓ ⇔ ⇕ ⇖ ⇗ ⇘ ⇙ ⇚ ⇛ ⇜ ⇝ ⇞ ⇟ ⇠ ⇡ ⇢ ⇣ ⇤ ⇥ ⇦ ⇧ ⇨ ⇩ ⇪ ⌦ ⌧ ⌫ ⇫ ⇬ ⇭ ⇮ ⇯ ⇰ ⇱ ⇲ ⇳ ⇴ ⇵ ⇶ ⇷ ⇸ ⇹ ⇺

┣▇▇▇═─ || │┃╽╿╏║╎┇︱┊︳┋┆╵〡〢╹╻╷〣═━─╍┅┉┄┈╌╴╶╸╺╼╾﹉﹍﹊

◊⋄╭╮╯╰︵︶╱╲╳﹋﹌﹏〄々〆〳〴〵︴⑀⑄⑆⑇⑈⑉⑊

พฤศจิกายน 17, 2021 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรอย่างถูกวิธีตามกฎหมาย

by info พฤศจิกายน 14, 2021
written by info

เรียนรู้วิธีการทำงานกับเครื่องจักรด้วยความปลอดภัย และถูกวิธีตามกฎหมาย

ในอุตสาหกรรมต่างๆเครื่องจักรนั้นถือเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้ผลิตชิ้นงานต่างๆ เพื่อส่งขายให้กับลูกค้าแต่ในอีกมุมนึงเครื่องจักรที่นำมาใช้งานนั้นสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้หากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานกับเครื่องจักรได้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันกฎหมายได้ออกประกาศแนวทางการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรเพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและเกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย

ความปลอดภัย หมายถึง การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

 

 

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ

และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔

“เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง” หมายความว่า เครื่องจักรที่ออกแบบ เฉพาะใช้สำหรับยก เคลื่อนย้ายคนขึ้นไปทำงานบนที่สูงหรือที่ต่างระดับอย่างปลอดภัย เช่น รถกระเช้า กระเช้าแขวน หรือกระเช้าแบบกรรไกร

 

 

ส่วนที่ ๖ เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง

ข้อ ๔๙ ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีการป้องกันการตกจากที่สูงตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ
  2. จัดให้มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักและจำนวนคนที่สามารถยกได้อย่างปลอดภัย
  3. ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ให้มีสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
  4. จัดให้มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยขณะทำงานตามความเหมาะสมของการใช้งาน
  5. จัดให้มีอุปกรณ์ตัดระบบการทำงานเมื่อมีการใช้งานเกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนด และต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้ตลอดเวลา

 

 

ข้อ ๕๐ นายจ้างต้องไม่ดัดแปลงหรือกระทำการใดกับเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงที่มีผลทำให้ความปลอดภัยในการทำงานลดลง

ข้อ ๕๑ นายจ้างต้องควบคุมดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงที่ใช้ไฟฟ้าให้อยู่ห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการระบายอากาศเพื่อป้องกันการสะสมของไอกรด และไอระเหย ของไฮโดรเจนจากการประจุไฟฟ้า

ข้อ ๕๒ ในการทำงานบนเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงที่มีการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรไปตามแนวระนาบ นายจ้างต้องจัดให้พื้นที่ที่เป็นเส้นทางการเคลื่อนย้ายมีความแข็งแรง ราบเรียบ ไม่ต่างระดับ และปรับระดับของเครื่องจักรดังกล่าวให้อยู่ในตำแหน่งที่ผู้ผลิตกำหนดหรือในตำแหน่งที่ปลอดภัย

ข้อ ๕๓ นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมลูกจ้างเกี่ยวกับการปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

ข้อ ๕๔ ในการใช้งานเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงแบบแขวน นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีการทดสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องภายหลังการติดตั้ง และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
  2. ต้องใช้ลวดสลิงที่มีค่ำความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๑๐ และไม่เป็นลวดสลิงที่มีลักษณะ ตามข้อ ๘๖

เครื่องจักรของกฎหมายตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ที่ออกมาใหม่ได้ระบุให้นายจ้างต้องทำการตรวจสอบเครื่องจักรประจำปีให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยโดยวิศวกร เพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรที่อาจจะเกิดกับลูกจ้างหรือพนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นโรงงาน หรือ ผู้รับเหมาที่เข้าไปทำงานจะต้องเตรียมใบรับรองนี้เพื่อยื่นหน้างานให้กับทาง จป ดูว่าเครื่องจักรประเภทต่างๆที่ได้นำเข้ามาทำงานนั้นมีสภาพความพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

 

 

7 ชนิดเครื่องจักรที่ต้องตรวจรับรองประจำปี

  1. เครื่องจักรที่ใช้ในงานยกและขนย้าย เช่น รถยก ระบบสายพานลำเลียง
  2. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินและงานถนน ได้แก่ รถแทรกเตอร์ รถตัก เครื่องจักรกล สำหรับงานขุด รถบด รถขูดอุ้มดิน (scraper) รถเกรด (grader car) รถปูแอสฟัลท์ติคคอนกรีต (asphaltic concrete paver) รถพ่นย่าง (bitumen distributor หรือ parayer)
  3. เครื่องจักรที่ใช้ในงานคอนกรีต ได้แก่ เครื่องผสมคอนกรีต (concrere mixer) เครื่องสั่นคอนกรีต (concrere vibrator) เครื่องปั๊มคอนกรีต (concrere pumping) เครื่องยิงคอนกรีต (shotcrere machine) เครื่องพ่นปูนทราย (mortar sprayer) รถคอนกรีตผสมเสร็จ (transit – mixer truck)
  4. เครื่องจักรที่ใช้ในงานฐานราก ได้แก่ เครื่องตอกเสาเข็ม เครื่องจักรที่ใช้สำหรับงานเจาะเสาเข็มและกำพืด เครื่องอัดน้ำปูน (cement grouting machine) เครื่องทำเสาเข็มดินผสมซีเมนต์ (soil cement column machine)
  5. เครื่องจักรที่ใช้ในงานขุด งานเจาะ หรืองานขุดเจาะอุโมงค์ ได้แก่ เครื่องอัดลม (air compresor) เครื่องเจาะหิน (drilling rock machine) เครื่องเจาะอุโมงค์ (tunel boring machine) เครื่องดันท่อ (pipe jacking machine) แบ็กโฮ (backhoe) แดร็กไลน์ (dragline) รถตักหน้า – ขุดหลัง (front – end loader)
  6. เครื่องจักรที่ใช้ในงานรื้อถอนทำลาย ได้แก่ เครื่องสกัด (jack hammer) คอนกรีตเบรกเกอร์ (concrete breaker) เครื่องตัดทำลายโครงสร้าง (demolition shears)
  7. เครื่องจักรอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้งานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

** หมายเหตุ การตรวจสอบจะต้องเป็นเอกสารและรับรองโดยวิศวกร

พฤศจิกายน 14, 2021 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
PPE

หมวกนิรภัย คืออะไร การสวมใส่หมวกเซฟตี้ หรือ หมวกนิรภัย Safety Helmet อย่างถูกวิธี

by info พฤศจิกายน 12, 2021
written by info

การสวมใส่หมวกเซฟตี้ หรือ หมวกนิรภัย Safety Helmet อย่างถูกวิธี

PPE คือ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสวมใส่ไว้ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ปัจจุบันกฎหมายความปลอดภัยได้ออกประกาศให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์เซฟตี้ต่างๆให้กับลูกจ้างและจะต้องกำกับดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไว้ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน

หมวกนิรภัยนั้นสามารถช่วยให้เราทำงานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นจากการถูกสิ่งของตกใส่หรือป้องกันการกระแทกจนศีรษะได้รับบาดเจ็บ

 

 

หมวกนิรภัยหรือหมวกเซฟตี้ (Safety Helmet) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสำหรับสวมใส่ศีรษะ ช่วยปกป้องศีรษะจากการกระแทกพื้นจากการลื่นล้ม หรือป้องกันวัตถุจากที่สูงตกลงมากระทบศีรษะ คุณสมบัติพิเศษของหมวกนิรภัย คือ มีความหนาแน่น ทนทานต่อการกระแทก การเจาะทะลุ และกันไฟฟ้า ช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้ เหมาะสำหรับพนักงานที่ทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากสิ่งของหรือวัสดุต่างๆ ที่จะตกใส่ศีรษะ เช่น งานขนย้ายและติดตั้ง งานก่อสร้าง และงานไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องมีการสวมใส่หมวกนิรภัยขณะปฎิบัติงานทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

 

 

1.หมวกนิรภัยชนิดมีกระบังด้านหน้า

 

ลักษณะมีปีกยื่นมาเฉพาะด้านหน้า โดยด้านข้างอาจเป็นขอบนูนก็ได้ มีให้เลือกทั้งแบบรองในแบบปรับเลื่อนและปรับหมุน เหมาะกับผู้ปฎิบัติงานในงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้าง

2.หมวกนิรภัยชนิดปีกรอบ

 

ลักษณะมีขอบหมวกยื่นออกมาโดยรอบตัวหมวก ป้องกันได้ทุกทิศทาง เหมาะ
สำหรับช่างไฟฟ้า สามารถกันไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

 

 

แนวทางการป้องกันอันตรายจากการทำงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยนั้นสามารถใช้เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ การสวมใส่หมวกนิรภัยจะช่วยบรรเทาให้ความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุนั้นลดลงได้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นเกิดความปลอดภัย การเลือกใช้ PPE หรือหมวกนิรภัยควรเลือกใช้ที่ได้มาตรฐานและมีการรับรองในเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่ยอมรับในกฎหมายความปลอดภัยของประเทศไทยหรือสากล

พฤศจิกายน 12, 2021 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ความปลอดภัยทั่วไป

การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานเริ่มต้นอย่างไร

by info พฤศจิกายน 10, 2021
written by info

การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน เริ่มต้นอย่างไร

ชีวิตประจำวันของพวกเราทั้งหมดนั้น ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่เราจะต้องตระหนักอย่างมาก เพราะหากเราไม่มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตเลย ก็ถือได้ว่าเรามีชีวิตที่เสี่ยงเป็นอย่างมาก ซึ่งนั่นก็คงจะไม่เกิดขึ้นกับตัวเรา เพราะตั้งแต่ที่เราเกิดมานั้น เราก็ได้รับสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ดังนั้น มันจึงเป็นถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานของตัวเราอย่างยิ่ง แต่ถึงกระนั้น การที่เราจะได้รับความปลอดภัยนั้น เราก็จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งอันตราย และสิ่งใดเป็นสิ่งปลอดภัย เพื่อที่จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตไปได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

โดยเฉพาะในการทำงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสังคมที่เราจำเป็นที่จะต้องเข้าไป ซึ่งนอกจากความปลอดภัยอันเป็นสิทธิที่เราได้ตั้งแต่เกิดแล้ว ยังมีความปลอดภัยที่เกิดมาจากการปฏิบัติตนตามกฎภายในองค์กรอีกด้วย ซึ่งความปลอดภัยในลักษณะนี้จะเป็นความปลอดภัยที่เกิดมาจากการเรียนรู้ ซึ่งถ้าหากเราทำตามกฎที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างครบถ้วนแล้ว ก็รับรองได้เลยว่าความอันตรายจะไม่เกิดกับเรา และหนึ่งสิ่งที่จะช่วยทำให้เราได้รับความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ จิตสำนึกด้านความปลอดภัย นั่นเอง

จิตสำนึกด้านความปลอดภัยเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้และปลูกฝังในเรื่องความปลอดภัยมาตั้งแต่ต้นซึ่งจะช่วยทำให้เราสามารถปฏิบัติตนได้อย่างปลอดภัยในการทำงานได้นั่นเองซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นมาโดยเราสามารถสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานได้ดังนี้

 

 

1. การสร้างจิตสำนักเพื่อความปลอดภัยโดยประสาสัมผัสทั้ง 5 โดยเราสามารถฝึกใช้ประสามสัมผัสทั้ง 5 ในการสร้างจิตสำนึกนี้ได้ โดยจะออกมาในรูปแบบ ดังนี้

  • ตา โดยสามารถสอดส่องหาสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่ไม่ปลอดภัย
  • หู โดยจะใช้ในการฟังเสียงสิ่งผิดปกติของเครื่องจักรและกระบวนการผลิตได้
  • จมูก ใช้ดมกลิ่นที่ผิดปกติในบริเวณที่ทำงาน
  • ปาก โดยสามารถใช้ในการรับส่งข้อมูล รวมถึงแจ้งข่าวสารได้นั่นเอง
  • ผิวหนัง ใช้ในการรับความรู้สึกที่เริ่มผิดปกติในบริเวณนั้น

2 . การสร้างจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยให้คงถาวร

  • ควรคิดอยู่เสมอว่าอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ป้องกันได้
  • ควรคิดไว้ว่าความเสี่ยงไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น
  • ผู้ได้รับอุบัติเหตุจะสูญเสียมากที่สุด
  • การทำงานด้วยความเคยชิน ไม่สามารถบอกได้ว่าทำแบบเดิมแล้วจะไม่เกิดอุบัติเหตุ
  • ปฏิบัติตามกฎขององค์กรให้เป็นนิสัย
  • ความเร่งรีบสามารถทำให้เราลืมกฎความปลอดภัย
  • ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือในการป้องกันอุบัติเหตุ
  • มีการอบรม สัมมนา หรือดูงานความปลอดภัยสม่ำเสมอ
  • ต้องมีการป้องกันอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง

 

 

นอกจากที่เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการส้รางจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราควรจะรู้ ก็คือวิธีการปฏิบัติเพื่อสร้างความปลอดภัยนั่นเอง ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

  1. สำรวจสถานที่ ว่ามีความสะอาดและเรียบร้อยดีหรือไม่
  2. แต่งกายได้เหมาะสมและรัดกุมเพื่อพร้อมที่จะทำงาน
  3. ควรติดตั้งเครื่องมือให้พร้อมใช้งาน
  4. ควรเตรียมเครื่องป้องกันที่ต้องใช้
  5. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนของการทำงานที่ปลอดภัย และปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท
  6. เลือกใช้เครื่องมือถูกลักษณะและถูกกับงาน
  7. ภายหลังจากทำงานเสร็จแล้ว ควรเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้เรียบร้อย
  8. หากมีสถานที่ใดที่มีความอันตราย สิ่งที่ควรทำก็คือแปะข้อความเตือนเอาไว้อย่างชัดเจน
  9. ทำความสะอาดและเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเลิกงานแต่ละวัน รวมไปถึงการทำ 5ส

นอกจากนี้ ในการที่เราจะป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่และรับผิดชอบร่วมกัน โดยเราจะสามารถแบ่งกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ คือผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน (หัวหน้างาน) และพนักงานทั่วไป โดยพวกเขาเหล่านี้จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไปในการรับผิดชอบ ดังนี้

  1. ผู้บริหาร โดยควรให้มีการจัดการอบรมวิธีการแห่งการปลอดภัยแก่คนงาน
  2. ผู้ควบคุมงาน โดยสามารถสอนวิธีการทำงานแก่คนงานและควบคุมให้ทำงานอย่างปลอดภัย
  3. พนักงาน ซึ่งจะต้องเคารพและเชื่อฟังกฏเกณฑ์และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

โดยในปัจจุบันนี้ได้มีการจัดอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างมากและหนึ่งในวิธีที่มีการใช้อย่างมากนั่นก็คือ KYT

 

 

KYT เป็นวิธีการของญี่ปุ่น ที่จะเอาไว้ฝึกฝนกับพนักงาน เพื่อที่จะทำให้พวกเขาเหล่านี้สามารถมีความสามารถในการมองอันตรายล่วงหน้าได้ โดยจะต้องฝึกฝนอยู่ทุกวัน เพื่อเป็นการเตือนสติก่อนการปฏิบัติงาน และยังเพื่อขจัด “ความผิดพลาดที่เกิดจากคน (Human Error)” โดย KYT นั้น ย่อมาจาก

K คือ KIKEN (คิเค็น) แปลว่า อันตราย

Y คือ YOSHI (โยจิ) แปลว่า คาดการณ์

T คือ TRAINING (เทรนนิ่ง) แปลว่า การฝึกฝน หรือ ฝึกอบรม

โดยเมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึง“การฝึกอบรมการคาดการณ์อันตรายล่วงหน้า”

ซึ่ง KYT นั้น จะมีวิธีการฝึกฝน ดังนี้

1. การฝึกจากรูปภาพหรือเหตุการณ์สมมติซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือพนักงานทุกคน โดยจะให้รวมกลุ่มกัน และพิจารณาสถานที่หนึ่งจากรูปภาพที่ได้ โดยให้มองหาจุดที่เป็นอันตรายในรูป และส่งเสียงออกมา

2. การฝึกฝนในสถานที่จริง ซึ่งจะเป็นวิธีการที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามที่กำหนดไว้ในแผนงาน ซึ่งจะเป็นการฝึกฝนเพื่อให้แน่ใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสภาพที่พร้อมและปลอดภัย โดยการชี้นิ้วไปที่วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือสถานที่ทำงานใด ๆ พร้อมกับกล่าวว่า “ทุกอย่างพร้อม ปลอดภัย โอเค” นั่นเอง

ดังนั้น การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการทำงานในองค์กร ๆ หนึ่ง โดยมันจะช่วยทำให้เราสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง รวมถึงยังทำให้เราสามารถมองเห็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์กรได้ และนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาในที่สุด นั่นจึงถือได้ว่า มันเป็นสิ่งที่ดีอย่างมากต่อการบริหารองค์กรนั่นเอง

พฤศจิกายน 10, 2021 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail

Recent Posts

  • ข้อสำคัญของการเลือกตั้ง คปอ. คืออะไร
  • จป.ควรตรวจสอบรถเครน ผู้รับเหมาก่อนเริ่มงานอย่างไรบ้าง
  • จป คือบุคคลที่คอยช่วยกำกับดูแลในด้านความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร
  • ความสำคัญของการซ้อมอพยพหนีไฟให้กับพนักงานประจำปี
  • การสร้างชื่อเท่ๆด้วยอักษรพิเศษมากกว่า 300 รายการ

Recent Comments

ไม่มีความเห็นที่จะแสดง
  • Facebook
  • Twitter
  • Instagram
  • Pinterest
  • Youtube
  • Email

@2023 - All Right Reserved. Designed and Developed by gf-glutenfree